วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


3 วิวัฒนาการของมนุษย์ ตอนที่ 3

วิวัฒนาการของมนุษย์ 3

          มนุษย์ดึกดำบรรพ์ ประเภทต่างๆ ซึ่งมีวิวัฒนาการตามกาลเวลามาโดยลำดับจนกระทั้งปรากฎเป็นมนุษย์ปัจจุบัน
การศึกษาวิวัฒนาการของมนุษย์ หลักฐานส่วนใหญ่ได้มาจาก การขุดพบซากดึกดำบรรพ์ หรือซากฟอสซิลของมนุษย์โบราณ และเครื่องมือต่างๆที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นแล้วนำมาวิเคราะห์ลักษณะตรวจหาอายุของซากฟอสซิล ทำให้ทราบได้ว่าในช่วงเวลาต่างๆในอดีตโลกของเราเคยเป็นที่อาศัยของมนุษย์ในรูปแบบใด มีวิถีชีวิตและอารยธรรมแบบใด




เมื่อศึกษาซากฟอสซิลของมนุษย์โบราณจากแต่ละช่วงเวลา พบว่า รูปแบบของมนุษย์ปัจจุบันเพิ่งจะปรากฎบนโลกประมาณเมื่อ 100000 กว่าปีนี่เอง ช่วงเวลาก่อนหน้านั้นฟอสซิลของมนุษย์โบราณที่พบมีลักษณะแตกต่างไปจากมนุษย์ปัจจุบัน อาจกลล่าวได้ว่า โลกเป็นที่อาศัยของมนุษย์หลายชนิดในแต่ละช่วงเวลาวิวัฒนาการมาโดยลำดับหลายชนิดสูญพันธุ์ไปคงเหลืออยู่เพียง สปีชีส์ เดียวคือโครโมโซม เซเปียนส์ (Homo Sepiens) หรือมนุษย์ปัจจุบัน




4 วิวัฒนาการของมนุษย์ ตอนที่ 4

วิวัฒนาการของมนุษย์ 4

ประวัติ

การศึกษามานุษยวิทยากายภาพ (Physical Anthropology, Paleoanthropology) ยุคใหม่ เริ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อมีการค้นพบซากมนุษย์นีแอนเดอร์ธาล(Neanderthal man) และหลักฐานต่างๆ ของมนุษย์ถ้ำ
ความคิดที่ว่ามนุษย์มีความคล้ายคลึงกับลิงใหญ่มีมานานแล้ว แต่ความคิดเกี่ยวกับทฤษฏีวิวัฒนาการ ที่เป็นที่ยอมรับเริ่มขึ้น เมื่อ ชาร์ลส์ ดาร์วิน(Charles Darwin) ตีพิมพ์หนังสือ On the Origin of Species ในปี ค.ศ. 1859 และหนังสือเล่มถัดมาของเขา Descent of Man
ตั้งแต่สมัยของ คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) ได้จัดให้ ลิงใหญ่อยู่ในกลุ่ม ที่เป็นญาติใกล้ชิดมนุษย์ โดยดูจากลักษณะภายนอก
ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 คาดกันว่า ลิงชิมแปนซีและลิงกอริลล่าเป็นญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของมนุษย์ ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน

ก่อนจะมาเป็นมนุษย์

เราสามารถสืบหาวิวัฒนาการของไพรเมตย้อนหลังไปได้ถึงประมาณ 60 ล้านปีก่อน ไพรเมตมีบรรพบุรุษร่วมกันกับสัตว์จำพวกค้างคาว ซึ่งอาจมีชีวิตอยู่ช่วงประมาณยุค ครีเทเชียส (ทันยุคท้ายๆของพวกไดโนเสาร์)
ไพรเมต (เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ทราบกัน) มาจากบริเวณอเมริกาเหนือ แพร่กระจายผ่าน ยุโรป เอเชีย และแอฟริกา ในยุค Paleocene และ Eocene
เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงเป็นหนาวเย็นในต้นยุค Oligocene (ประมาณ 40 ล้านปีก่อน) ไพรเมตสูญพันธ์ไปเป็นจำนวนมาก เหลืออยู่เพียงบริเวณแอฟริกาและเอเชียใต้
บรรพบุรุษยุคแรกๆของโฮมินิด (ลิงใหญ่และมนุษย์) ออกจากแอฟริกาเข้าสู่ยุโรปและเอเชีย เมื่อประมาณ 17 ล้านปีก่อน ซึ่งต่อมาวิวัฒนาการไปเป็น บรรพบุรุษของลิงใหญ่ ลิงกอริลลา และลิงชิมแปนซี และก็มีสายพันธ์หนึ่ง วิวัฒนาการกลายเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์เมื่อประมาณ 6 ล้านปีก่อน
แม้จะยังไม่ได้ข้อมูลจากฟอสซิล แต่การตรวจสอบทางโมเลกุล (ดีเอ็นเอ) ก็บอกให้เราทราบว่า บรรพบุรุษของมนุษย์ วิวัฒนาการแยกจากลิงกอริลลาเมื่อประมาณ 8 ล้านปีก่อน และแยกจากลิงชิมแปนซี เมื่อประมาณ 4 ล้านปีก่อน
เมื่อ 8 ล้านปีก่อน ขณะนั้นทวีปแอฟริกาทั้งทวีปถูกปกคลุมด้วยป่าฝนที่รกทึบ แต่การกำเนิดของเทือกเขาหิมาลัย ที่สูงเทียมเมฆในช่วงเวลาเดียวกัน ทำให้ทิศทางของลมมรสุมต่างๆ เปลี่ยนไป ส่งผลให้ฝนที่ตกในแอฟริกาลดลง ทวีปแอฟริกาจึงกลายสภาพเป็นป่าโปร่งแทนที่จะเป็นป่าฝนที่รกทึบ (แต่ก็ยังมีป่าฝนอยู่บ้างเป็นแห่งๆ)

ustralopithecus afarensis

ป่าโปร่ง มีต้นไม้ที่น้อยกว่าป่าฝน ลิงที่อยู่ในป่าจึงต้องปรับตัวให้อยู่บนพื้นดินได้ด้วย การปรับตัวเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป จนในที่สุด 3,900,000 ปีก่อน ลิงกลุ่มนั้นได้วิวัฒนาการมาเป็นสปีชีส์ Australopithecus afarensis ซึ่งสามารถใช้ชีวิตได้ทั้งบนต้นไม้และบนพื้นดิน สามารถเดินสองขาและเดินสี่ขาได้ ต่างจากลิงในอดีตที่ไม่สามารถเดินสองขาได้
ส่วนสาเหตุของการปรับตัวให้เดินสองขาได้นั้น ในอดีต นักวิทยาศาสตร์คาดว่า อาจเป็นเพราะการเดินสองขานั้นสามารถยืดตัวให้สูงขึ้น มองเห็นศัตรูได้จากระยะไกล แต่ว่า การทำตัวให้สูงขึ้น ย่อมทำให้ศัตรูเห็นตัวได้ง่ายขึ้นเช่นกัน เหตุผลด้านนี้จึงตกไป เพราะในความเป็นจริงแล้ว การเดินสองขานั้น มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานในร่างกายมากกว่าการเดินสี่ขา ดังนั้น Australopithecus afarensis สามารถประหยัดพลังงานในร่างกาย เพื่อทำกิจกรรมอื่นได้ดีขึ้น เช่น การปกป้องอาณาเขต หรือ การสืบพันธุ์
1 ล้านปีถัดมา เมื่อ 2,900,000 ปีก่อน Australopithecus afarensis เริ่มมีวิวัฒนาการ และพัฒนาเป็นสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ คือ Paranthropus boisei ซึ่งมีพละกำลังเพิ่มขึ้น เข้ามาแทนที่
เวลาผ่านไป 400,000 ปี ในช่วง 2,500,000 ปีก่อน โลกเกิดภาวะเย็นตัวลง เกิดน้ำแข็งยักษ์สะสมที่ขั้วโลก ทำให้น้ำที่เป็นของเหลวลดจำนวนลง แผ่นดินทั่วโลกจึงแล้งขึ้นเล็กน้อย รวมทั้งแอฟริกาด้วย แอฟริกาในช่วงนี้กลายเป็นทวีปที่มีความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ ตั้งแต่ป่าฝนรกๆ ป่าโปร่ง ทุงหญ้า หรือทะเลทราย

 

Homo habilis

สภาพแวดล้อมที่แตกต่าง ทำให้สิ่งมีชีวิตในแอฟริกาเกิดการปรับตัวที่แตกต่าง กลายเป็นมนุษย์วานรหลายสปีชีส์ อยู่รวมกันในบริเวณต่างๆ ของแอฟริกา แต่ทว่า สปีชีส์หนึ่งในนั้น ไม่ใช่มนุษย์วานร แต่เป็นมนุษย์
สปีชีส์แรกที่นับได้ว่าเป็นมนุษย์ ปรากฏขึ้นในแอฟริกาเมื่อ 2,200,000 ปีก่อน ชื่อว่าสปีชีส์ Homo habilis (Homo เป็นภาษาละติน แปลว่า มนุษย์) พวกเขาวิวัฒนาการให้เป็นสปีชีส์ที่มีความคล่องตัวทุกกรณี และมีสมองที่ฉลาดกว่าสปีชีส์อื่นๆ เขาเป็นสปีชีส์แรกที่คิดค้นการทำอาวุธเครื่องมือต่างๆ จากหิน แต่ไม่มีพละกำลังมากเท่ากลุ่ม Paranthropus boisei และยังไม่มีการสื่อสารด้วยการพูด
ทักษะของฮาบิลิส ทำให้พวกเขาอยู่รอดได้ในหลายสภาพภูมิศาสตร์ เพราะรู้จักการปรับตัวและการใช้สมอง จนกระทั่งเวลาผ่านไป 300,000 ปี Homo ergaster ปรากฏขึ้นบนโลกเมื่อ 1,900,000 ปีก่อน และเป็นเผ่าแรกที่สือสารด้วยการพูดได้ เป็นคู่แข่งทางวิวัฒนาการของฮาบิลิสที่ได้เปรียบฮาบิลิส เพราะเออร์กัสเตอร์ มีสมองที่ฉลาดกว่า และมีการพูดเป็นการสื่อสาร จนกระทั่งฮาบิลิสได้สูญพันธุ์ไปเมื่อ 1,600,000 ปีก่อน

[แก้]Homo erectus

เออร์กัสเตอร์ สูญพันธุ์ไปเมื่อ 1,400,000 ปีก่อน โดยมี Homo erectus ก้าวแทนที่ มีวิวัฒนาการมาจาก habilis โดยตรง ก้าวเข้ามาต่อสู้ในโลกแห่งความจริงแทนฮาบิลิส มีความเจริญใกล้เคียงมนุษย์ปัจจุบัน หลังจากอีเร็คตัสกำเนิดขึ้นมาได้ 200,000 ปี บอยเซอิก็สูญพันธุ์ไป

[แก้]Homo sapiens

อีเร็คตัสมีชีวิตอยู่นาน 1,240,000 ปี ก่อนจะสูญพันธุ์ไปเมื่อ 250,000 ปีก่อน เพราะได้วิวัฒนาการโดยตรงมาเป็น Homo sapiensซึ่งก็คือมนุษย์ปัจจุบัน เข้าแทนที่หลังจากนั้นเป็นต้นมา
ดูเหมือนว่าพวกโฮมินิด จะเป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถพัฒนา การดำรงชีวิต ซากฟอสซิลจากยุคนั้น ที่พบก็เช่น สายพันธุ์
  • Sahelanthropus tchadensis (7-6 ล้านปีก่อน)
  • Orrorin tugenensis (6 ล้านปีก่อน)
และในยุคต่อๆมาก็พบ
  • Ardipithecus (5.5-4.4 ล้านปีก่อน)
  • Australopithecus (4-2 ล้านปีก่อน)
  • Paranthropus (3-1.2 ล้านปีก่อน)
  • Homo (1.98 ล้านปีก่อน-ปัจจุบัน)













5 Video วิวัฒนาการของมนุษย์ 5

วิดีโอ วิวัฒนาการของมนุษย์









วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


1.วิวัฒนาการของมนุษย์ ตอนที่ 1

วิวัฒนาการ (Evolution) 

       คำว่า วิวัฒนาการ ในภาษาอังกฤษคือ Evolution ในความหมายทั่วไป หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจากสภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่ง ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปตามลำดับโดยอาศัยระยะเวลาอันยาวนาน ในด้านชีววิทยา วิวัฒนาการ คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง
     วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปรผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก

     ก่อนที่จะมาศึกษามนุษย์ในปัจจุบัน หรือวิเคราะห์ว่าร่างกายมนุษย์จะมีขีดความสามารถ หรือพัฒนาไปถึงไหน จะต้องย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์และบรรพบุรุษของเรา

     ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) คือคนแรกที่ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับความคิดที่ว่ามนุษย์มีความคล้ายคลึงกับลิงใหญ่คือ On the Origin of Species ในปี ค.ศ. 1859 และหนังสือเล่มถัดมาของเขา Descent of Man ถัดมาได้เป็นทฤษฎีวิวัฒนาการ ที่เป็นที่ยอมรับจนถึงทุกวันนี้      วิวัฒนาการของมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของวิชาชีววิทยา ที่เด่นชัดก็คือ มานุษยวิทยากายภาพ (physical anthropology) และพันธุศาสตร์ (genetics) นักชีววิทยาได้จัดให้มนุษย์อยู่ในหมู่อาณาจักรของ Animalia หมายถึงสัตว์ คือสิ่งมีชีวิตมีผนังห่อหุ้ม ประกอบด้วย หลายเซลล์มีการแบ่งหน้าที่ของแต่ละเซลล์เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่างแบบถาวร ไม่มีคลอโรฟิลล์ สร้างอาหารเองไม่ได้

     บรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตในปัจจุบันมีรูปร่างคล้ายๆ หรือเหมือนกัน เรียกโดยรวมว่าไพรเมต (Primates) ซึ่งมีชีวิตอยู่ช่วงยุค Cretaceous คือยุคท้ายๆ ของไดโนเสาร์เมื่อ 60 ล้านปีมาแล้วไพรเมต เก่าแก่ที่สุดมาจากบริเวณทวีปแอฟริกา และเมื่อประมาณ 17 ล้านปีก่อน ได้แพร่กระจายไป ยุโรป เอเชีย และ อเมริกาเหนือ บรรพบุรุษของเราคือ โปรคอนซูล (Proconsul) เป็นลิงไม่มีหาง อาศัยอยู่ในบริเวณทวีปแอฟริกาตะวันออก เมื่อประมาณ 20 ล้านปีมาแล้ว

     เมื่อ 4 ล้านปีก่อน พื้นที่ที่เคยเป็นป่าได้กลายเป็นพื้นที่ทุ่งมากขึ้น ลิงซึ่งชินกับการอยู่เฉพาะบนต้นไม้ ได้ปรับตัวมาอยู่บนพื้นดินมากขึ้น กลายเป็นลิงไม่มีหาง ได้วิวัฒนาการมาเป็นสปีชี่ส์ Australopithecus afarensis ซึ่งสามารถใช้ชีวิตบนพื้นดิน สามารถเดินสองขาและเดินสี่ขาได้ ต่างจากลิงชนิดอื่นที่ไม่สามารถเดินสองขาได้ สาเหตุของการปรับตัวให้เดินสองขาได้นั้นเป็นเพราะการเดินสองขานั้นสามารถยืดตัวให้สูงขึ้น สามารถมองเห็นพื้นที่ทุ่งได้ไกลมากขึ้น

     เมื่อ 3 ล้านปีก่อน ตั้งแต่ Australopithecus afarensis ลงมาจากต้นไม้ ก็ได้มีโอกาสในการเดินทาง ค้นพบพื้นที่ใหม่ ๆ และตั้งถิ่นฐานใหม่ ๆ ขึ้นทั่วทวีปแอฟริกา พละกำลังในการดำรงชีวิตได้ไช้มากขึ้น ร่างกายจึงได้แข็งแกร่ง มีขนาดลำตัวที่ใหญ่ขึ้น และพัฒนาเป็นสิ่งมีชีวิตสปีชี่ส์ใหม่ คือ Paranthropus boisei มีน้ำหนักประมาณ 68 กิโลกรัม และสวนสูงประมาณ 130 เซนติเมตร แต่ยังไม่ได้ฉลาดขึ้น ยังไม่สามารถจะเรียกว่ามนุษย์ได้

     การดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไปในหลากหลายพื้นที่ ทำให้ร่างกายจำเป็นต้องปรับตัว ทำให้มีสิ่งมีชีวิตสปีชี่ส์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาตามสภาพพื้นที่ที่อาศัยอยู่ และนี่เองคือช่วงที่ทำให้นักชีววิทยาวิเคราะได้ลำบากว่าสปีซี่ส์ไหนคือต้นตระกูลของมนุษย์ หรืออาจจะมาจากหลายสปีชี่ส์นั่นเองที่ทำให้มนุษย์มีความหลากหลาย เช่น คนผิวดำมีโครงสร้างใหญ่ ล่ำ คนผิวขาวจะมีผมสีทอง และคนเอเซียจะมีโครงสร้างที่เล็กกว่า
     ลิงเป็นสัตว์ที่ชอบอยู่เป็นกลุ่ม เนื่องจากไม่มีเขี้ยว หรือ เล็บ ไม่สามารถจะป้องกันตัวเองได้ ต้องอาศัยกลุ่มในการช่วยสังเกตภัยอันตราย และในการหาอาหาร การที่แพร่กระจายไปตามพื้นที่ต่างๆ ในโลกทำให้การดำรงชีวิตต่างกันมาก บางพื้นที่ที่ภัยจากสัตว์ล่าเนื้อมีมากและความต้องการที่จะล่าสัตว์มีมาก จึงได้คิดค้นอาวุธเร็วขึ้น และร่างกายพัฒนามีกล้ามเนื้อใหญ่ขึ้น ต่างจากบางพื้นที่ที่ภัยอันตรายมีน้อยกว่า และพืชผลไม้มีมาก สปีชี่ส์นั้นจึงได้มีความใจเย็นมาก

     สปีชี่ส์ที่พัฒนาต่อมาที่น่าจะมีความเป็นมนุษย์รุ่นแรกคือ โฮโม เอรกาสเตอร์ (Homo Ergaster) ซึ่งเชื่อกันว่า เป็นมนุษย์ต้นแบบที่วิวัฒนาการเป็นมนุษย์ไปอีกหลายสาย คือ โฮโมอีเร็คตัส (homo Erectus) อาศัยอยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และอาฟริกาตะวันออก เมื่อ 1.5 ล้านปีมาแล้ว มีความเป็นมนุษย์เต็มตัวแล้ว      มนุษย์ปักกิ่ง (Peking Man) อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศจีน เมื่อประมาณ 3-4 แสนปีมาแล้ว เริ่มรู้จักจุดไฟใช้เองได้ นิยมล่ากวาง โดยใช้เครื่องมือที่ทำจากหิน 

     โฮโมแซเปียนส์ (Homo Sapiens) สายพันธุ์มนุษย์ ในยุโรปและตะวันออกกลาง มีอายุเมื่อ 250,000 ปีมาแล้ว ยังชีพด้วยการล่าสัตว์เป็นอาหาร โดยใช้อาวุธที่ได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้น

     มนุษย์ นีแอนเดอธัส (Homo Neanderthalensis) อาศัยอยู่ในยุโรปและตะวันออกกลาง เมื่อ 100,000 ปีมาแล้ว เป็นสปีชี่ส์ที่ตัวใหญ่ที่สุด อาศัยอยู่ตามถ้ำ ล่าสัตว์เป็นหลัก

     ช่วงหลังเมื่อไม่กี่หมื่นปีมานี้ ความแตกต่างระหว่างสปีชี่ส์ยังคงมีอยู่ และ แยกแยะได้สามเผ่าพันธุ์หลัก คือ คอเคซอยด์ เช่น ฝรั่ง, เเขกขาว, ลาติน - มองโกลอยด์ เช่น เอเชียตะวันออก, เเขกดำ, อินเดียนเเดง, เอสกิโม และนิกรอยด์ คือคนผิวดำ

     เดิมทีมนุษย์รุ่นแรก ๆ เมื่อห้าพันปีก่อนคริสต์ศักราช รู้จักเก็บข้าวสาลีและข้าวบาร์เล่ย์ไปประกอบทำเป็นอาหาร ต่อมาด้วยความฉลาดและความสังเกต ทำให้มนุษย์สามารถที่จะเพาะปลูกได้เอง โดยเริ่มในเขตเมโสโปเตเมีย

     จะเห็นได้ว่าวิวัฒนาการของมนุษย์นั้นไม่หยุดนิ่ง มนุษย์รู้จักสร้างเครื่องมือนานาชนิดในการดำรงชีพ รู้จักคิดและใช้ปัญญาในการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ โดยอาศัยปัญหาในอดีตเป็นแนวทางเพื่ออนาคต นักวิทยาศาสตร์ ชื่อ ทีดอบฮานสกี (T. Dobhansky) ได้ให้ความเห็นว่ามนุษย์ยังมีวิวัฒนาการอยู่ แต่ในทางชีวภาพก็ยังไม่แน่ว่าจะเป็นวิวัฒนาการไปในทิศทางใด

     นอกจากทางชีวภาพแล้ว มนุษย์ยังมีวิวัฒนาการในทางวัฒนธรรมอีกด้วย และยังมีความก้าวหน้าในการคิดค้นประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้มากมายหลายชนิด การวิวัฒนาการ ทางวัตถุต่าง ๆ ก็อาจมีผลทำให้เกิดวิวัฒนาการทางชีวภาพไปด้วย ผลของการวิวัฒนาการต่อไปในโอกาสข้างหน้าก็เป็นเรื่องที่อาจคาดคะเนได้ แต่จะเป็นไปตามการคาดคะเนหรือไม่นั้น ก็เป็นเรื่องที่จะต้องติดตามกันต่อไปในตอนที่สอง


2 วิวัฒนาการของมนุษย์ ตอนที่ 2

วิวัฒนาการของมนุษย์ 2   

มนุษย์นีแอนเดอธัส อาศัยอยู่ในยุโรปและ ตะวันออกกลาง เมื่อประมาณหนึ่งแสนปีถึงสามหมื่นห้าพันปีมาแล้ว ยืนตัวตรง อาศัยอยู่ตามถ้ำ ล่าสัตว์เป็นอาหาร เป็นช่วงเวลาที่เป็นยุคน้ำแข็งของโลก น้ำทะเลลดระดับต่ำลงมาก จึงมีถ้ำมากมาย ให้ใช้เป็นที่อยู่อาศัย
  มนุษย์โคมันยอง เป็นพวกนีแอนเดอธัส ที่สืบสายพันธุ์บรรพบุรุษมนุษย์ต่อมา ถือว่าเป็นต้นตระกูลของพวกคอเคซอยด์รุ่นแรก มีกระโหลกศีรษะโค้งมนมากขึ้น ขากรรไกรหดสั้น แก้มนูนเด่นชัด นิยมล่าสัตว์และนุ่งห่มด้วยขนสัตว์ มีอายุอยู่ในช่วง 3 หมื่นถึง 4 หมื่นปีมาแล้ว
มนุษย์กับการเพาะปลูก เดิมทีมนุษย์รุ่นแรกๆ เมื่อ ห้าพันปีก่อนคริสตศักราช รู้จักเก็บข้าวสาลีและข้าวบาร์เล่ย์เป็นอาหาร ต่อมาด้วยความฉลาดและสังเกต ทำให้มนุษย์สามารถเพาะปลูกได้เอง โดยเริ่มในเขต เมโสโปเตเมีย มนุษย์ปัจจุบันได้แบ่งเชื้อชาติเผ่าพันธุ์กว้างๆเป็น คอเคซอยด์ มองโกลอยด์ นิกรอยด์ และออสตราลอยด์
  มนุษย์เชื้อชาติคอเคซอยด์ กระจายแพร่หลายในยุโรป อเมริกาเหนือ-ใต้ มีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวขาว ขนตามลำตัวสีน้ำตาล ผมสีทอง ริมฝีปากบาง จมูกโด่ง นัยน์ตาสีน้ำเงิน หรือฟ้า มีเชื้อชาติย่อยเป็น พวกนอร์ดิก เซลติค อามาเนีย และออสเตรเลียน
 มนุษย์เชื้อชาติมองโกลอยด์กระจัดกระจายอยู่ในเอเซีย มีชาติย่อยๆ เช่น เอสกิโม อินเดียนในอเมริกาเหนือ-กลาง มีผิวเหลือง รูปร่างสันทัด ผมสีดำ ตาสีน้ำตาล จมูกไม่โด่งนัก รูปหน้ากลม ริมฝีปากบาง
  มนุษย์เชื้อชาตินิกรอยด์ กระจัดกระจายอยู่ในอัฟริกา และมีชาติย่อยในปาปัวนิวกินี และเมลานิเซียน มีผิวสีดำหรือน้ำตาลเข้ม ผมดำหยิกขอด ริมฝีปากหนา รูปร่างสันทัด และสูงใหญ่ในบางกลุ่ม

มนุษย์เชื้อชาติออสตราลอยด์ เป็นชาวพื้นเมืองในทวีปออสเตรเลีย และบริเวณเกาะใกล้เคียง ผิวดำ ผมหยิก ริมฝีปากหนา รูปร่างสันทัด ใบหน้ารูปไข่

   มนุษย์เชื้อชาติโพลีเนเซียน เชื้อชาติที่แพร่กระจายอยู่ตามเกาะของมหาสมุทรแปซิฟิคตอนกลาง และตอนใต้ มีรูปร่างสันทัด ผิวสีน้ำตาล ผมหยักศก.